สมาชิก UN ผลักดันสนธิสัญญาหยุดใช้พลาสติกฉบับแรกของโลก
เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาประเทศ 170 ประเทศทั่วโลกในองค์การสหประชาชาติเห็นพ้องต้องกันให้กำเนิดร่างสนธิสัญญาฉบับแรกว่าด้วยการหยุดใช้พลาสติกที่ทำลายโลกให้หมดสิ้นภายในสิ้นปีหน้า แต่ทว่าข้อเสนอในร่างสนธิสัญญาที่ว่านี้แท้จริงจะทำให้สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าหลังจากการพูดคุยอย่างจริงจังเรื่องพลาสติกที่ทำลายโลกในกรุงปารีส ร่างสนธิสัญญาว่าด้วยการเลิกใช้พลาสติกน่าจะเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกของโลกที่หยุดยั้งวงจรพลาสติกอย่างจริงจัง
ระทึก! เครื่องบิน “การบินไทย” เฉี่ยวชนสายการบินEVA ที่สนามบินฮาเนดะ
"ปูติน" เผยยูเครนเริ่มรุกกลับรัสเซียครั้งใหญ่ แต่ยังล้มเหลว
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ในโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ (UNEP) บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่าเวลาสั้นลงเรื่อยๆ เราจึงจำเป็นต้องชัดเจน ปรับปรุง และลงมือทำ โดยไม่ควรต้องรีรอแล้ว ในเวลานี้รถบรรทุกที่บรรทุกขยะ 1 ถังใหญ่ๆ มีขยะพลาสติกที่ถูกฝังลงในมหาสมุทรทุกๆ 1 นาที รวมไปถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกซึ่งคาดการณ์กันว่าจะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่า 6.5 กิกกะตันภายในปี 2050
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา UNEP เผยแพร่พิมพ์เขียวการลดขยะพลาสติกร้อยละ 80 ภายในปี 2040 โดยในรายงานพิมพ์เขียวฉบับนี้นั้นมีใจความสำคัญ 3 ประการครอบคลุม 3 Rs คือ
- 1. Reuse = การนำมาใช้ซ้ำ
- 2. Recycling = การผ่านกระบวนการผลิตมาใช้ใหม่
- 3คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. Reorientation = การเปลี่ยนแปลงใหม่ จากแพกเกจของพลาสติกในรูปแบบวัสดุทางเลือกอื่นๆ
แต่กระนั้นใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับกระบวนการทั้งหมดนี้จนนำไปสู่การถกเถียงกันระหว่างกลุ่มประเทศที่ต้องการจำกัดการผลิตพลาสติกและอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ประสงค์อยากจะให้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติก กับบางกลุ่มย่อยๆ ในบางประเทศที่รวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการภายใต้ชื่อว่า “High Ambition Coalition” หรือเป้าหมายที่มีร่วมกันอย่างแรงกล้า ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ชิลี และชาติที่เป็นเกาะเล็กๆ ซึ่งทั้งหมดนี้รวมตัวกันเรียกร้องให้ทั่วโลกพุ่งเป้าไปที่การลดการใช้พลาสติกและอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติก ตลอดจนจำกัดการใช้สารเคมีอันตรายบางประเภทด้วย
ซามัว ประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ในโอเชียเนียคือตัวแทนของประเทศที่ยกมือเรียกร้องว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อพลาสติก โดยระบุว่า ในฐานะที่เป็นผู้รับใช้มหาสมุทรและทะเล ขอย้ำซ้ำๆ อีกครั้งว่าข้อตกลงนี้คือความปรารถนาอันแรงกล้าตั้งแต่แรกเริ่มซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยต้องอาศัยความเข้าใจตรงกันอย่างถ่องแท้ถึงวงจรของพลาสติก สิ่งที่พลาสติกจะมอบไว้ให้ดังมรดกในระบบนิเวศทางน้ำ และแน่นอนว่ามรดกนี้ก็อยู่ยงคงกระพันเวลาแล้วเวลาเล่าไม่หายไปง่ายๆ
ในขณะเดียวกัน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐฯ ที่ต่างก็พุ่งเป้าไปที่แผนแห่งชาติของตัวเองมากกว่าเป้าประสงค์ที่ทั่วโลกจำเป็นต้องทำ โดย มาเรียน เลเดสมา สมาชิกกลุ่มกรีนพีซจากฟิลิปปินส์ออกมาเหน็บแนมทั้ง 2 ประเทศนี้ว่า นอกเหนือจะเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันแล้วยังกลับไม่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการช่วยกันจำกัดพลาสติกให้หมดไปจากโลกอีกด้วย ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่เคยมีใครได้ยินเสียงตะโกนด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าจากประเทศเหล่านี้ที่แถมก็ยังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยพลังงานฟอสซิลด้วย ท้ายที่สุดแล้วก็ได้แต่หวังว่าประเทศเหล่านี้จะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนและสิ่งแวดล้อมของโลกจากแก่นสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้ และวางผลประโยชน์ของชาติตามความต้องการของตนเองไว้ข้างหลัง
นอร์เวย์อีกประเทศ ประกาศเป็นศัตรูกับพลาสติกอย่างจริงจัง
เว็บไซต์ Reader’s Digest อ้างอิงข้อมูลจากรายงานเมื่อปี 2019 ของธนาคารโลกระบุว่ามีขยะพลาสติก 320,000 ตันที่ยังคงไม่ได้เก็บมาจากทุกๆ ปีในแถบแคริบเบียน ซึ่งขยะพลาสติกเหล่านี้ทำลายสิ่งแวดล้อม มีทั้งชิ้นเล็กๆ จากการทิ้งไม่เป็นที่เป็นทาง และจากการฝังทำลายอย่างผิดกฎหมาย แน่นอนว่าประเทศที่อยู่ตามแถบทะเลแคริบเบียนได้รับผลกระทบกับสุขภาพ และเคยได้ออกกฎให้ทุกชาติในแถบแคริบเบียนห้ามใช้ผลิตภัณฑ์หรืออะไรก็ตามที่เป็นพลาสติกแบบครั้งดียวทิ้ง ในที่นี้รวมไปถึง ถุงพลาสติก กล่องอาหาร ช้อนส้อม และหลอด
ส่วนนอร์เวย์เป็นอีกประเทศผู้นำของโลกที่จริงจังในการรีไซเคิลขวดพลาสติกเป็นอย่างมาก โดยมีการตั้งโครงการแลกเงินกับขวดพลาสติก ซึ่งในนอร์เวย์ร้อยละ 97 ใช้ระบบรีไซเคิลขวดพลาสติกทุกขวด ไม่เว้นแม้แต่ขวดพลาสติกที่มาจากประเทศอื่นๆ ในแถบสแกนดิเนเวียด้วย โดยพบว่าขวดพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลมีการใช้ซ้ำมากกว่า 50 ครั้ง ในขณะที่ผลสำรวจจากสิ่งแวดล้อมในนอร์เวย์พบว่าขวดพลาสติกที่เป็นขยะมีไม่ถึงร้อยละ 1 เท่านั้น จึงทำให่นอร์เวย์กลายเป็นประเทศที่มีการรีไซเคิลขวดพลาสติกมากที่สุดในโลก
ภาษีสิ่งแวดล้อม สาเหตุนอร์เวย์คุมขวดพลาสติกได้สำเร็จ
คำถามที่น่าสนใจคือทำไมนอร์เวย์ถึงประสบความสำเร็จในการควบคุมขวดพลาสติกไม่ให้เป็นขยะทำลายประเทศได้ นั่นเพราะว่ากฎหมายของนอร์เวย์กำหนดไว้ว่าถ้าบริษัทผู้ผลิตขวดพลาสติกรีไซเคิลได้มากเท่าไหร่ จะจ่ายภาษีสิ่งแวดล้อมน้อยเท่านั้น เช่น ถ้าพวกเขาผลิตได้ร้อยละ 95 แปลว่าพวกเขาแทบไม่ต้องจ่ายภาษีเลย ซึ่งสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นมาตลอด11 ปีที่ผ่านมาแล้ว ในขณะที่ฝั่งของผู้บริโภค ปกติแล้วเครื่องดื่มที่เป็นขวดพลาสติกจะมีภาษีเพิ่มเข้ามารวมในราคาของสินค้า แต่หากบุคคลนั้นนำขวดเปล่าไปคืนยังสถานที่ของรัฐ จะได้เงินกลับมาซึ่งมีทั้งเป็นเงินสดและจากในบัตรเครดิต และในเวลานี้นอร์เวย์กำลังขะมักเขม้นกับการรีไซเคิลอะลูมิเนียมอีกด้วย
นอร์เวย์พบ “หินจารึกอักษรรูน” เก่าแก่ที่สุดในโลก
22 เมษายน “วันคุ้มครองโลก” ชวนตระหนักความสำคัญของมลภาวะ-สิ่งแวดล้อม