ฟิลิปปินส์ ชี้ จีนฉีดน้ำใส่เรือขนส่งเสบียง ละเมิดกม.ระหว่างประเทศ
กองทัพฟิลิปปินส์ ได้ออกมากล่าวหาว่า จีนกำลังละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้เรียกทูตจีนประจำกรุงมะนิลาเข้าพบทันที
ภาพของเรือหน่วยยามฝั่งของจีนที่กำลังใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงยิงใส่เรือขนส่ง 2 ลำของฟิลิปปินส์ ที่กำลังแล่นไปส่งเสบียงให้กับกองทหารที่ประจำอยู่บนสันดอนโธมัสที่ 2 (Second Thomas Shoal) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ในทะเลจีนใต้ภาพดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา และถูกถ่ายไว้ได้โดยเจ้าหน้ากองทัพเรือฟิลิปปินส์ที่เดินทางไปกับเรือขนส่งดังกล่าว
ข้อพิพาท "ทะเลจีนใต้" ปมขัดแย้งจีน-ฟิลิปปินส์
นานาชาติรุมตำหนิจีน ฉีดน้ำสกัดเรือยามฝั่งฟิลิปปินส์
หมู่เกาะสแปรตลีย์อยู่ในทะเลจีนใต้ช่วงระหว่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ ประกอบไปด้วยเกาะเล็กใหญ่มากมายหลายร้อยเกาะ เป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ประเมินกันว่าบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ มีน้ำมันสำรองอยู่เกือบ 2.8 พันล้านบาร์เรลล์ และมีปริมาณก๊าซธรรมชาติอยู่ถึง 266 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ยังไม่นับรวมทรัพยากรทางทะเลอื่นๆอีกมากมาย อีกความสำคัญคือ การเป็นเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญอันดับ 2 ของโลกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
คำถามคือ ใครเป็นเจ้าของพื้นที่แห่งนี้ หากยึดเอาหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล หรือ UNCLOS พื้นที่ของทะเลจีนใต้จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศต่างๆ ตามการแบ่งเขตเศรษฐกิจที่ให้พื้นที่ทำประมงไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งของประเทศนั้นๆ ส่วนพื้นที่ที่เกินกว่า 200 ไมล์ทะเลหลังจากนั้นให้ถือเป็นน่านน้ำสากล
แต่ปัญหาคือที่ผ่านมาจีนพยายามอ้างกรรมสิทธิ์เหนือในพื้นที่ส่วนที่เกินจาก 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง โดยจีนใช้วิธีลากเส้นเขตแดนของตนเองที่เรียกว่า เส้นประ 9 เส้น เส้นประ 9 เส้นนี้ปรากฎว่าไปครอบคลุมกินพื้นที่ถึงร้อยละ 90 ของทะเลจีนใต้
และกินพื้นที่ของประเทศอื่นๆ ที่กำหนดตาม UNCLOS จีนให้เหตุผลว่า เขตแดนตามเส้นประป็นเขตแดนที่ขีดไว้เมื่อเกือบ 80 ปีก่อนในสมัยรัฐบาลก๊กมินตั๋ง เส้นประ 9 เส้นของจีนได้กินพื้นที่ทางทะเลของประเทศที่ได้การรับรองตามอนุสัญญา UNCLOS ก่อให้เกิดความไม่พอใจและข้อพิพาทตามมา
อย่างไรก็ตาม จีนไม่สนใจและเดินหน้าสร้างเกาะเทียม โครงสร้างพื้นฐานทางการทหาร รวมถึงแท่นขุดเจาะน้ำมันเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ รวมถึงมีการห้ามไม่ให้เรือของหลายชาติเข้าทำประมงในบริเวณเขต 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ซึ่งถือว่าเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศนั้นๆ
ปี 2013 ฟิลิปปินส์นำเรื่องนี้ฟ้องอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่กรุงเฮกและชนะคดีแต่ปัญหาก็คือ ศาลที่กรุงเฮกไม่มีอำนาจในการบังคับให้จีนดำเนินการตามคำตัดสิน
ฟิลิปปินส์จึงเริ่มสร้างแนวหรือหลักเขตของตนเองขึ้นมาเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิ หนึ่งในจุดดังกล่าวคือ สันดอนโธมัสที่ 2 (Second Thomas Shoal) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งของจังหวัดปาลาวัน ที่อยู่ทางตะวันตกของฟิลิปปินส์ ประมาณ 105 ไมล์ทะเล ซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ตามอนุสัญญา UNCLOS
ปี 1999 ฟิลิปปินส์ได้การนำเรือเก่าๆ ผุพังที่มีชื่อว่า BRP SIERRA MADRE ซึ่งเป็นเรือรบสัญชาติสหรัฐฯ ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปวางไว้ที่แนวสันดอนนี้ และส่งกำลังพลกลุ่มเล็กๆ ไปประจำบนซากเรือด้วย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สันดอนโธมัสที่ 2 ได้กลายเป็นสัญลักษณ์การอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ของฟิลิปปินส์
สิ่งที่จีนทำเพื่อเป็นการตอบโต้คือ ส่งเรือของตนเองไปตระเวณบริเวณแนวสันดอนโธมัสที่ 2 เพื่อขัดขวางไม่ให้เรือของกองทัพฟิลิปปินส์ส่งเสบียงเข้าไปให้ทหารที่อยู่บนเรือ BRP SIERRA MADRE รวมถึงยื่นคำขาดให้ฟิลิปปินส์นำซากเรือออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด โดยอ้างว่าจุดดังกล่าวเป็นของจีน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเผชิญหน้าระหว่างเรือของ 2 ชาติเกิดขึ้นเป็นระยะ รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ภาพนี้กำลังสร้างความไม่พอใจอย่างหนักให้กับรัฐบาลฟิลิปปินส์
หลังเกิดเหตุการณ์ มีการตั้งโต๊ะเปิดแถลงข่าว ประณามการกระทำของเรือยามฝั่งจีนว่าเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงและอันตราย ที่สำคัญคือ จีนกำลังละเมิดกฎหมายสากล รวมถึงระบุด้วยว่า ฟิลิปปินส์มีสิทธิ์ทุกประการในการส่งเรือเข้าไปบริเวณแนวสันดอนโทมัสที่ 2 และยืนยันว่าจะไม่มีทางเอาเรือ BRP SIERRA MADRE ออกจากจุดนั้นอย่างเด็ดขาด เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ที่ได้รับการรับรองจากอนุสัญญา UNCLOS
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ยังได้เรียกตัว หวง ซีเหลียน เอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงมะนิลาเข้าพบในวันนี้
ก่อนที่ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มากอส ผู้นำของฟิลิปปินส์จะให้สัมภาษณ์ว่า จะทำทุกทางเพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ
หลังถูกฟิลิปปินส์ประณามและประท้วง จีนออกมาตอบโต้ว่า ที่ต้องทำเช่นนั้นเนื่องจากเรือของฟิลิปปินส์ 2 ลำได้รุกล้ำเข้ามาในน่านน้ำของจีนก่อน และนี่ถือเป็นการละเมิดแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ หน่วยยามฝั่งจีนจึงตัดสินใจเข้าสกัด
เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา จีนได้ปล่อยภาพคลิปเหตุการณ์ที่ตนเองถ่ายไว้ออกมาเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กระทำการที่ก้าวร้าว สุ่มเสี่ยงหรืออันตรายอย่างที่กองทัพฟิลิปปินส์กล่าวอ้าจากภาพเราจะเห็นเรือยามฝั่งของจีนกำลังแล่นประกบเรือของฟิลิปปินส์พร้อมๆ กับฉีดน้ำแรงดันสูงเข้าใส่ โดยเรือของจีนมีขนาดใหญ่กว่าเรือของฟิลิปปินส์หลายเท่า อย่างไรก็ตาม จากคลิปที่จีนปล่อยออกมา ระยะของเรือทั้ง 2 ลำไม่ได้อยู่ใกล้กันมากและเป็นเหตุผลที่จีนอ้างว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายและเป็นการกระทำที่สมเหตุสมผล
ความตึงเครียดระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ในหมู่เกาะสแปรตลีย์โดยเฉพาะบริเวณสันดอนโทมัสที่ 2 เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางการฟิลิปปินส์ระบุว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ได้ยื่นประท้วงทางการทูตต่อการกระทำที่ก้าวร้าวของจีนในน่านน้ำพิพาทไปแล้วกว่า 200 ครั้ง รวมถึงครั้งที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเมื่อเรือหน่วยยามฝั่งของจีนยิงเลเซอร์ใส่เรือของฟิลิปปินส์ระหว่างกำลังปฏิบัติภารกิจบริเวณแนวสันดอนโธมัสที่ 2 จนทำให้ลูกเรือบางส่วนมีอาการตาบอดชั่วคราว
การกระทำของจีนล่าสุดเรียกเสียงตำหนิจากนานาชาติโดยเฉพาะพันธมิตรสำคัญของฟิลิปปินส์อย่างสหรัฐอเมริกา
โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ แมททิว มิลเลอร์ระบุว่า การใช้อาวุธจู่โจมเรือ เครื่องบิน และกองกำลังของฟิลิปปินส์ ซึ่งรวมถึงหน่วยยามฝั่งในทะเลจีนใต้ จะทำให้มีการใช้ข้อผูกพันการป้องกันร่วมสหรัฐฯ ภายใต้มาตราที่ 4 ของสนธิสัญญาป้องกันประเทศร่วมกันของสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ ปี 1951 เช่นเดียวกับออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเยอรมนี ที่ออกมาระบุว่า การกระทำของจีนนั้น “อันตราย” และ “บั่นทอนความมั่นคง”