“กรมพลศึกษา” เปิดโครงการเด็กไทยว่ายน้ำได้ สอนเยาวชนเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
ดร.นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ อธิบดีกรมพลศึกษา เป็นประธานเปิดโครงการเด็กไทยว่ายน้ำได้ ประจำปี 2567 “ฝึกทักษะว่ายน้ำเพื่อป้องกันการจมน้ำ” ที่โถงชั้น 1 อาคารกีฬานิมิบุตร เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, พญ.ศิริรัตน์ สุวรรณฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค, พันตำรวจโท วินัย นิ่มฟัก รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจน้ำ, นางสาวสุขวิชญาณ์ นสมทรง ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน, นายทวีปวินท์ หนูบำรุง ผู้จัดการฝ่ายประจำสำนักผู้จัดการใหญ่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, ผู้อำนวยการสถานศึกษา 5 แห่งที่ร่วมโครงการ และผู้บริหารกรมพลศึกษา ร่วมในพิธีเปิด
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดโครงการเด็กไทยว่ายน้ำได้ ประจำปี 2567 “ฝึกทักษะว่ายน้ำเพื่อป้องกันการจมน้ำ” เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีทักษะการว่ายน้ำ สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและรู้หลักการใช้อุปกรณ์ในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำได้ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน ได้นำเอาทักษะไปพัฒนาให้มีขีดความสามารถของตนเองให้สูงขึ้น
โดยดำเนินการฝึกเพื่อให้เด็กและเยาวชน อายุตั้งแต่ 6-14 ปี มีทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นที่ถูกต้อง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และรู้หลักการใช้อุปกรณ์ ในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ ซึ่งจะเป็นการลดอัตราการจมน้ำของประชากร โดยมีจำนวน 27 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง (ส่วนกลางที่สระว่ายน้ำวิสุทธารมณ์ กรมพลศึกษา) โดยในพื้นที่ส่วนกลาง จะจัดการอบรมทุกวันพุธ เริ่มตั้งแต่วันพุธที่ 29 พ.ย.-27 ธ.ค. 2566 ที่สระว่ายน้ำวิสุทธารมณ์ กรมพลศึกษา มีโรงเรียน 5 แห่ง เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย รร.วัดชัยมงคล, รร.วัดบรมนิวาส, รร.วัดสระบัว, รร.วัดดวงแข และ รร.พญาไท รวมทั้งสิ้น 240 คน เข้าร่วมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับโครงการเด็กไทยว่ายน้ำได้ ประจำปี พ.ศ. 2567 มีการฝึกภาคทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ (Water Safety Knowledge) คือ แหล่งน้ำเสี่ยง กลุ่มเสี่ยง : เด็กแรกเกิดถึง 3 ปี (ในบ้าน รอบๆ บ้าน ละแวกบ้าน และในชุมชน) ตามวัยต่างๆ ของเด็ก เช่น ถังน้ำ กะละมัง อ่างอาบน้ำเด็ก/ผู้ใหญ่ บ่อเลี้ยงปลา อ่างบัว โอ่ง ที่นั่งชักโครกในห้องน้ำ สระว่ายน้ำพลาสติก) เด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (รอบๆ บ้าน ละแวกบ้าน เช่น แอ่งน้ำใต้ถุนบ้าน แอ่งน้ำขัง ร่องน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ และในพื้นที่ชุมชน เช่น แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง), สภาพแหล่งน้ำ (น้ำตื้น น้ำลึก น้ำวน ปรากฏการณ์ Rip Current)
รวมถึงการฝึกภาคปฏิบัติให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น ทักษะการว่ายน้ำขั้นพื้นฐาน ฝึกการเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ฝึกลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ ฝึกวิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนขวดน้ำดื่มพลาสติก ฝึกวิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก ฝึกวิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการย่อตัวให้ต่ำยื่นท่อ PVC ฝึกการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (Water Rescue) ขั้นดำเนินการสอนให้เด็กและเยาวชนรู้วิธีการแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือร้องเรียกผู้ใหญ่ให้ช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ และรู้จักประเมินความสามารถในการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยตนเอง (ตะโกน โยน ยืน) ซึ่งจะเป็นวิธีที่จะทำให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้ และลดการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กไทย ได้ตามเป้าหมายที่ทางกรมพลศึกษากำหนด
ทั้งนี้ ก่อนเริ่มกิจกรรม คณะวิทยากรจากสำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา ยังได้ทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ได้ทำความรู้จักและความคุ้นเคยต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกทักษะช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำในภาคปฏิบัติอีกด้วย.คำพูดจาก เกมสล็อตทดลองเล่น